การสอนไวยากรณ์
ไวยากรณ์ (Grammar) เป็นกระบวนการทางภาษาที่จะควบคุม และรวบรวมคำเพื่อก่อให้เกิดหน่วยของความหมายที่ยาวขึ้น ไวยากรณ์จึงเป็นตัวกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของกิจกรรมในห้องเรียนที่มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้ชั่วคราว เพื่อให้มองเห็นผลได้ในระยะยาว เพราะการใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วควรเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้เรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลายในระยะยาว (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 19 – 20)
การสอนไวยากรณ์ผู้สอนต้องนำเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ในขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
1. การนำเสนอ (Presentation) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบและความหมายทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน
2. การสอนเป็นตอน ๆ และการอธิบาย (Isolation and Explanation) เป็นการเน้นเรื่องส่วนประกอบของไวยากรณ์ ทั้งด้านการออกเสียง รูปแบบ ความหมาย และหน้าที่ หรือกฎเกณฑ์ ในบางชั้นเรียนครูอาจจำเป็นต้องอธิบาย แปล หรือทำให้เห็นภาพรวมโดยใช้ภาษาแม่ของผู้เรียน
3. การฝึกฝน (Practice) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างภาษาได้อย่างลึกซึ้ง ครูควรจัดให้มีแบบฝึกหัดทั้งที่ให้ทำในชั้นเรียน และที่ให้ทำเป็นการบ้าน ให้มีความหลากหลายครอบคลุมเนื้อหาที่เรียน
4. การทดสอบ (Test) เป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับในสิ่งที่เรียนไปแล้ว เพื่อทราบว่าผู้เรียนพัฒนาไปมากน้อยเพียงใด ครูควรปรับปรุงการสอนอย่างไรต่อไป
สรุป การสอนไวยากรณ์ขั้นตอนแรกคือเราต้องนำเสนอเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียนหลังจากนั้นก็อธิบายถึงกฎของการใช้ของไวยากรณ์ตัวนั้นและควรมีแบบฝึกหัดให้แก่นักเรียนเพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนนั้นเข้าใจโครงสร้างของไวยากรณ์ตัวนั้นได้อย่างลึกซึ้ง
การสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method)
วิธีการสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีที่เน้นทักษะพูดและฟัง ลักษณะสำคัญของวิธีสอนนี้คือ - ทักษะพูดและทักษะฟัง เป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนทักษะอ่าน และเขียน - ไม่สนับสนุนการใช้ภาษาที่หนึ่งในชั้นเรียน - ทักษะทางภาษาเป็นรูปแบบที่ตายตัวดังนั้นควรฝึก pattern ของภาษาที่เป็นรูปบทสนทนา(dialogue) เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ เพราะวิธีสอนแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นในระหว่างช่วงสงคามโลกครั้งที่ 2 จากความจำเป็นที่ทหารจะต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปใช้ในช่วงที่ทำการรบในต่างประเทศ วิธีสอนแบบไวยากรณ์และแปลที่ใช้แต่เดิมนั้นไม่สามารถช่วยให้พูดภาษาต่างประเทศได้ ในช่วงเวลานั้น นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมกำลังได้รับความสนใจ แนวคิดนี้นำไปสู่การสอนแบบฟัง-พูด ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในช่วง ค.ศ. 1980-1960 เรียกว่าวิธีสอนแบบนี้ว่า วิธีสอนแบบภาษาศาสตร์ (linguistic method) หรือวิธีสอนแบบฟัง-พูด (aural-oral method) ต่อมาปี ค.ศ. 1964 Nelsen Brooks แห่งมหาวิทยาลัยเยล ได้เรียกวิธีสอนแบบนี้ว่า audio-lingual method) และเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2539 : 54-55) ลักษณะพื้นฐานของของการสอนแบบฟัง-พูดมีดังนี้ (Baker. Colin and Sylvia. 1998 : 673) 1. คำศัพท์ และรูปประโยคจะถูกสอนเป็นลำดับก่อนหลัง เน้นความถูกต้องของกฎเกณฑ์ภาษาและการออกเสียงทักษะเหล่านี้ทำได้โดยการฝึกซ้ำ ๆ โดยครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมการฝึกทั้งหมดลักษณะการฝึกซ้ำ ๆ (drill) 2. เน้นการทำแบบฝึกหัด (drill) และบทสนทนา (dialogue) ในแต่ละ dialogue จะประกอบไปด้วยหลักการใช้แกรมม่าและการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารวิธีเรียนคือท่องบทสนทนาจนขึ้นใจ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการใช้กฎเกณฑ์ของภาษา 3. วิธีการสอนแบบนี้ครูจะเป็นศูนย์กลางควบคุมกระบวนการเรียนการสอน แนะนำ และตรวจแก้การใช้ภาษาของนักเรียน ครูจะใช้สื่อในด้านการฟังช่วย เช่น เทปบันทึกเสียง และห้องปฏิบัติการทางภาษา โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางภาษาจะช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสในการฝึกภาษาด้วยตนเองได้ การสอนแบบฟัง-พูดได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของSkinner ที่เชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งหมดเป็นกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และถูกเสริมแรงจนกระทั่งกลายเป็นนิสัย การเรียนรู้ภาษาก็มิได้แตกต่างจากการเรียนรู้ด้านอื่น ๆ คือถ้าจะให้เกิดเป็นนิสัย หรือเกิดการเรียนรู้ต้องฝึกบ่อย ๆ โดยการปฏิบัติซ้ำ วิธีสอนแบบฟัง-พูด มีข้อจำกัดที่สำคัญอยู่ 2 ข้อคือ 1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีนี้พบว่ามีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ในสถานการณ์ที่เป็นจริงเพราะการสื่อสารนอกห้องเรียน มีความซับซ้อนมากกว่าโครงสร้างของบทสนทนาที่ครูให้นักเรียนท่องในชั้นเรียน เมื่อพบกับปัญหานักเรียนจึงไม่สามารถใช้ภาษา เพื่อต่อรองความหมาย (negotiate meaning) ได้จึงทำให้การสนทนาล้มลงกลางคัน 2. ทฤษฎีภาษาศาสตร์ของอเมริกันเปลี่ยนไปในช่วงปี 1960 โดยนักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ Noam Chomsky ปฏิเสธการเรียนภาษาโดยการวิเคราะห์โครงสร้างทางภาษา และทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษาของกลุ่มพฤติกรรมนิยม Chomsky ได้คิดทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาขึ้นมาจาก แนวคิดพื้นฐานที่ว่าการใช้ ภาษาไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยการเลียนแบบ หรือทำซ้ำ ๆ แต่เกิดขึ้นโดยผู้เรียนเกิดสมรรถนะทางภาษา แนวคิดของ Chomsky มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร (communicative approach |